• 0636419951
  • tnkwealthplanner@gmail.com

การวางแผนมรดก



“การวางแผนมรดก”
 นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับทุกคน ไม่เฉพาะเป็นเรื่องของคนรวยที่มีทรัพย์สมบัติเงินทองมากๆ เท่านั้นที่ต้องทำไม่ว่าจะมีเงินมากหรือน้อยก็ไม่ควรมองข้าม หากใครยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นตรงไหนดี ลองเริ่มจากการรวบรมทรัพย์สินและหนี้สินของคุณตามแหล่งต่างๆ โดยจดบันทึกไว้ว่าตนเองมีทรัพย์สินและหนี้สินอะไร? เป็นจำนวนเท่าไหร่? อยู่ที่ไหน? เพื่อให้เป็นระบบระเบียบและสะดวกตอนทำพินัยกรรมมากยิ่งขึ้น

“มรดก = ทรัพย์สิน + หนี้สิน”

ที่ต้องกล่าวถึงหนี้สิน เพราะหนี้สินก็อยู่ในข่ายที่จะเป็นมรดกตกทอดถึงทายาทได้เช่นเดียวกับทรัพย์สิน ดังนั้นคุณจึงควรระบุไว้ด้วยว่าคุณมีหนี้สินอยู่ที่ไหน? รวมเป็นเงินเท่าไหร่? เพื่อจะได้นำเงินในกองมรดกมาชำระหนี้สินให้เรียบร้อยก่อนแบ่งสรรปนั ส่วนกัน

จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการทำ “พินัยกรรม” โดยพินัยกรรมถือเป็นคำสัง่ เสียครั้งสุดท้าย เพื่อให้แน่ใจว่าทรัพย์สินจะถูกส่งต่อหรือถ่ายโอนไปยังบุคคลที่คุณต้องการมอบให้อย่างแน่นอนและครบถ้วน ซึ่งตามกฎหมายคุณสามารถระบุให้ใครหรือองค์กรใดเป็นผู้รับมรดกก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นญาติสนิท หรือสายเลือดเดียวกันเสมอไปเพียงแต่ทำพินัยกรรมโดยระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้อย่างครบถ้วน ก็ทำให้การจัดสรรทรัพย์สินของคุณเป็นไปอย่างสมบูรณ์ได้

ข้อมูลหลักๆ ที่ต้องระบุในพินัยกรรมประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัว (ชื่อ นามสกุล อายุ ฯลฯ) รายการทรัพย์สินต่างๆ (ที่ดิน บ้าน ใบหุ้น เงินฝากต่างๆ ฯลฯ) กรมธรรม์ประกัน (ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ฯลฯ) รายชื่อผู้รับมรดกผู้จัดการมรดก จำนวนทรัพย์สินที่ต้องการจัดสรรให้แต่ละคน ลายมือชื่อ และวันเดือนปีที่ทำพินัยกรรม

การทำพินัยกรรมสามารถทำได้หลายแบบ ก่อนทำพินัยกรรมคุณควรศึกษาวิธีการจัดทำพินัยกรรมหรือปรึกษานักกฎหมายเพื่อให้พินัยกรรมของคุณมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย แต่หากคุณต้องการทำพินัยกรรมแบบที่ง่ายและซับซ้อนน้อยที่สุด คุณก็เพียงเขียนพินัยกรรมด้วยลายมือคุณเองทัง้ ฉบับว่าคุณมีทรัพย์สินใดบ้าง ระบุให้ละเอียดว่าต้องการยกอะไรให้กับใคร พร้อมลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย พินัยกรรมแบบนี้ไม่มีรูปแบบมาตรฐานและไม่จำเป็นต้องมีพยาน แต่เพื่อป้องกันการโต้แย้งว่าพินัยกรรมนี้คุณเป็นผู้เขียนขึ้นเองจริงหรือไม่ ก็ควรมีพยานยืนยันว่าพินัยกรรมนี้ถูกเขียนขึ้นโดยคุณจริง ซึ่งพยานต้องไม่มีส่วนได้เสียและไม่เป็นผู้รับมรดกดังกล่าว

เมื่อทำพินัยกรรมแล้ว คุณควรปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในพินัยกรรมให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา อย่างน้อยก็ทุกๆ 3 -5 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าพินัยกรรมของคุณจะถูกนำไปปฏิบัติตามเจตนารมย์ของคุณ ณ ขณะนั้นๆ มีหลายคนที่ทำพินัยกรรมเสร็จแล้วเก็บซ่อนไว้อย่างดี ไม่เคยหยิบมาแก้ไข เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป เช่น มีทรัพย์สินเพิ่ม มีลูกเพิ่มหรือหย่าร้าง ฯลฯ

 สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ลืมไม่ได้เด็ดขาด คือ คุณควรบอกให้คู่สมรสหรือบุคคลใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ทราบว่าพินัยกรรมฉบับล่าสุดของคุณจัดทำขึ้นเมื่อไร และเก็บไว้ที่ใด รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับรหัสตู้เซฟ หรือกุญแจตู้ที่เก็บเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น กรมธรรม์ประกันชีวิต สมุดเงินฝาก ใบหุ้น โฉนดที่ดิน ฯลฯ เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถนำพินัยกรรมและเอกสารต่างๆ ของคุณมาดำเนินการต่อไปได้

กรณีที่คุณจากไปโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมทิ้งไว้ หรือมีพินัยกรรมแต่หาไม่พบ ทรัพย์สินของคุณจะถูกจัดสรรให้แก่ทายาทตามลำดับและตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

  1. บุตรและคู่สมรส
  2. บิดา มารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

ฉะนั้น ทางออกที่ดีที่สุดในการจัดการกับทรัพย์สมบัติของคุณก็คือ รู้จักวางแผนมรดกและใช้พินัยกรรมเป็นเครื่องมือวางแผนการเงิน เพราะถึงแม้จะเสียชีวิต แต่คุณยังมีสิทธิตามกฎหมายที่จะยกอะไรให้กับใครก็ได้

สำหรับในบางประเทศที่มีกฎหมายมรดก ผู้รับมรดกจะต้องเสียภาษีเมื่อได้รับมรดกด้วย แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีมรดกที่ชัดเจน ทรัพย์มรดกที่ผู้รับมรดกได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างไรก็ตาม หากต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สิน ผู้รับมรดกก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอน และเมื่อได้ครอบครองทรัพย์สินนั้นแล้ว ก็ต้องเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น หากมรดกเป็นที่ดิน ก็ต้องเสียภาษีที่ดิน หากมรดกเป็นอพาร์ทเมนต์ให้เช่า ก็ต้องเสียภาษีเงินได้จากรายรับค่าเช่า

พินัยกรรมทั่วไปสามารถทำได้ 4 รูปแบบ ดังนี้
  1. พินัยกรรมแบบธรรมดาที่ทำเป็นหนังสือ ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือไว้ต่อหน้าพยายานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน ซึ่งพยานต้องไม่เป็นผู้รับมรดก
  2. พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเขียนข้อความทั้งหมดด้วยลายมือตัวเองและต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้เท่านั้น ไม่สามารถใช้พิมพ์ลายนิ้วมือหรือใช้ตราประทับได้ ซึ่งพินัยกรรมรูปแบบนี้กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีพยาน
  3. พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ผู้ทำพินัยกรรมสามารถไปขอทำได้ที่ที่ว่าการเขตหรืออำเภอ ซึ่งต้องมีพยายานอย่างน้อย 2 คน โดยผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอต้องจดรายละเอียดและอ่านให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟงั ก่อนแล้วจึงลงลายมือชื่อกำกับไว้ทัง้ ผู้ทำพินัยกรรม พยาน และผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ
  4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ เมื่อทำพินัยกรรมเรียบร้อยแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมต้องปิดผนึกและลงลายมือชื่อกำกับตรงรอยที่ปิดผนึก แล้วนำพินัยกรรมไปแสดงต่อผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ จากนั้นผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ และพยานอย่างน้อย 2 คนต้องลงลายมือชื่อกำกับบนซองพินัยกรรม

Categories

News & Activity

ประกาศใช้แล้ว! เก็บภาษีคริปโต

เก็บภาษีเงินได้ ถือครอง-ซื้อขายเงินดิจิทัลในอัตรา15%

IFCG 20 เปิดรับสมัครที่ปรึกษาการเงิน

เปิดประตูต้อนรับสู่การเป็นที่ปรึกษาการเงินแบบครบวงจร

เตรียมรับมือ กระทรวงพาณิชย์เตรียมเปิดเสรี 5 ธุรกิจบริการ

เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้นักลงทุน

อเมริกาใช้ Blockchain ลงคะแนนเลือกตั้งผ่านมือถือ

สหรัฐอเมริกาใช้เทคโนโลยี Blockchain ลงคะแนนเลือกตั้งผ่านแอพพลิเคชั่นชื่อ Voatz

"ธอส." ปล่อยกู้ซื้อบ้าน 2 ล้าน ดอกเบี้ย 0% นาน 60 เดือน

สำหรับคนที่มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาท